อยากเปลี่ยนหนี้นอกระบบ เป็นหนี้ในระบบ ทำได้ง่าย ๆ แค่ 4 วิธี

28/11/2566
การเงิน-ธุรกิจ

 พรอมิสแนะนำเปลี่ยนหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ทำได้ง่ายๆ

เงินกู้นอกระบบ แหล่งกู้ยืมเงินที่หลายคนมักหันไปพึ่งเมื่อลำบาก เพราะสามารถกู้ง่าย ได้เงินทันที แต่สุดท้ายก็ไม่วายโดนดอกเบี้ยมหาโหดเล่นงานจนไม่สามารถจ่ายคืนได้ แถมยังเสี่ยงโดนตามข่มขู่จนอันตรายถึงชีวิตอีก จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถเปลี่ยนหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบได้ โดยมีวิธีที่ไม่ยุ่งยากวุ่นวาย แถมยังช่วยให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกติสุข ไม่ต้องคอยหวาดผวากับการโดนตามทวงหนี้อีกต่อไป 

หนี้นอกระบบคืออะไร?

สินเชื่อนอกระบบคืออะไร

หนี้นอกระบบ คือ การกู้ยืมเงินแบบปากเปล่า โดยไม่มีเอกสารสัญญาในการกู้ยืมรองรับตามกฎหมาย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็คือ แก๊งเงินกู้นอกระบบ ที่มักจะโฆษณาปล่อยกู้ตามกลุ่มโซเชียลมีเดีย หรือใช้ใบปลิวติดตามเสาไฟนั่นเอง ซึ่งอาจจะกู้ได้ง่ายจริง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยดอกเบี้ยในการชำระคืนที่ไม่เป็นธรรม และยังเสี่ยงโดนตามข่มขู่หากเกิดการค้างชำระอีกด้วย

หนี้ในระบบคืออะไร?

สินเชื่อในระบบคืออะไร

หนี้ในระบบ คือ การกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงิน หรือบริษัทมีใบอนุญาตในการปล่อยสินเชื่อการกู้ยืมแบบถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็คือ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ข้อดีของการเป็นหนี้ในระบบ คือ มีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุชัดเจน รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกบังคับใช้ตามข้อกฎหมายจากทางภาครัฐ

4 วิธีเปลี่ยนหนี้นอกระบบ เป็นหนี้ในระบบ ปลดล็อกหนี้ คืนอิสรภาพทางการเงิน

บางคนอาจจะสงสัย หนี้นอกระบบสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นหนี้ในระบบได้ด้วยเหรอ จริงๆ แล้วก็คือ การขอกู้สินเชื่อจากสถาบันทางการเงิน เพื่อนำเงินก้อนนั้นไปปิดหนี้นอกระบบที่เป็นอยู่ และกลับมาเป็นหนี้ในระบบแทนนั่นเอง ซึ่งจะมีวิธีอย่างไรบ้าง มาไล่เรียงกันไปทีละข้อดีกว่า

1. ตรวจสอบหนี้ของตัวเองให้พร้อม

อย่างแรกที่ต้องทำ ก็คือ การดูยอดหนี้นอกระบบทั้งหมดที่มี บางคนอาจจะกู้ยืมจากหลายเจ้า พยายามปิดหนี้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงให้หมดก่อน และต้องไม่กู้ยืมเงินนอกระบบเจ้าใหม่เพื่อมาปิดหนี้เดิม เพราะอาจจะกลายเป็นดินพอกหางหมูเอาได้ ที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือ การบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ให้ไม่ติดลบ ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้มีเงินเหลือพอใช้จ่ายได้บ้าง 

2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

หนึ่งในสาเหตุที่หลายคนเป็นหนี้นอกระบบ อาจเกิดจากการไม่เคยทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเลย จึงไม่รู้ว่าหมดเงินไปกับอะไรบ้าง เมื่อพูดถึงวินัยทางการเงิน เรื่องนี้แทบจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ในการทำให้คนคนหนึ่งเป็นหนี้ หรือมีทรัพย์สมบัติเหลือกินเหลือใช้ 

3. ขอประนีประนอมหนี้กับเจ้าหนี้

เมื่อไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ได้จริงๆ การขอประนอมหนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่ต้องทำ เพื่อให้ตัวเราสามารถมีเงินหมุนใช้จ่ายได้บ้าง โดยไม่ต้องกู้ยืมเพื่อสร้างหนี้ก้อนใหม่ไม่รู้จบ ส่วนใหญ่ในขั้นตอนการขอประนอมหนี้ ก็จะมีการขอลดดอกเบี้ยลง หรือให้หยุดชำระดอกเบี้ยชั่วคราว แต่จ่ายเฉพาะเงินต้นคืนบ้าง ขึ้นอยู่กับการเจรจากับเจ้าหนี้เป็นหลัก 

4. ปรึกษาสถาบันการเงินเพื่อหาทางออก

เมื่อปัญหาหนี้นอกระบบมันเกินที่จะแก้ไข การกู้ยืมเงินจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ หรือการย้ายมาเป็นหนี้ในระบบ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของคนเป็นหนี้  ด้วยการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีทั้งแบบมีผู้ค้ำประกัน และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน เพราะถึงอย่างไรก็ไม่โดนดอกเบี้ยมหาโหดให้หวั่นผวา และยังมีเงื่อนไขในการผ่อนชำระที่ชัดเจน ปลอดภัย ทำให้เรากลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ได้อย่างสบายใจอีกครั้ง แต่ถึงอย่างไร ก็ควรที่จะวางแผนทางการเงินให้รัดกุมมากกว่าเดิม เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นหนี้ซ้ำอีกครั้ง 

สรุปบทความ อยากเปลี่ยนหนี้นอกระบบ เป็นหนี้ในระบบ ทำได้ง่าย ๆ แค่ 4 วิธี

การย้ายหนี้นอกระบบกลับเข้ามาอยู่ในระบบ เป็นสิ่งที่คนเป็นหนี้ทุกคนควรทำ เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้ที่เป็นอยู่ให้หมดเร็วที่สุด กับการไม่ต้องโดนดอกเบี้ยมหาโหดในการผ่อนชำระ แถมยังช่วยให้มีเงินเหลือใช้จ่ายในชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องสร้างหนี้ก้อนใหม่วนเวียนไม่รู้จบ 

Tags: เงินกู้ถูกกฎหมาย หนี้ในระบบ

พร้อมรู้กับพรอมิส