รวมเทคนิคการบริหารหนี้ให้หมดไว ไม่บานปลาย

20/10/2566
สินเชื่อน่ารู้

Promise6 Revise_1.png

 

อยากมีการบริหารจัดการหนี้ที่ช่วยให้หมดไว ไม่มีหนี้เพิ่มบานปลายต้องทำอย่างไรบ้าง? คนที่มีหนี้สินไม่ว่าจะมากหรือน้อย หากมีโอกาสคงต้องการรีบเคลียร์ให้หมดโดยเร็ว จึงต้องอาศัยการบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อจบปัญหาหนี้สินให้เราได้สบายใจ โดยบทความนี้เรารวมมาให้ถึง 9 เทคนิคการบริหารจัดการหนี้ ส่วนจะมีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง ลองเลื่อนลงไปอ่านกันได้ทันที
 

9 เทคนิคการบริหารจัดการหนี้

9 เทคนิคการบริหารจัดการหนี้.png

แชร์ 9 เทคนิคการบริหารจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เริ่มต้นจากการเรียงความสำคัญในการบริหารการเงินก่อนแล้วค่อยหาวิธีอื่นๆ และทบทวนการใช้เงินของตัวเองให้ดี โดยรายละเอียดของแต่ละเทคนิคบริหารจัดการหนี้จะมีดังนี้
 

1. รวมหนี้ทั้งหมดไว้ในก้อนเดียว

การรวมหนี้ทั้งหมดไว้ในก้อนเดียว คือ บริหารจัดการจากทางสถาบันการเงินที่จะช่วยให้คุณเคลียร์หนี้ทั้งหมด แล้วนำมารวมกันไว้ในก้อนเดียว ผ่านการขอสินเชื่อเพื่อแก้หนี้ โดยหนี้ทั้งหมดก็จะถูกโปะจนหมดตามวงเงินที่อนุมัติมาเพื่อแก้ไขปัญหา จากนั้นคุณก็ทำการผ่อนชำระค่าสินเชื่อนั้นเพียงก้อนเดียว ด้วยอัตราดอกเบี้ยใหม่ ถือเป็นเทคนิคการบริหารจัดการหนี้ได้เร็วที่สุด 

2. ชำระก้อนที่ดอกเบี้ยสูงก่อน

ชำระก้อนที่ดอกเบี้ยสูงก่อน คือ วิธีบริหารจัดการหนี้สินที่มียอดค้างชำระนานที่สุดก่อน เพราะเมื่อมียอดค้างชำระนาน จะส่งผลให้มีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องรีบเคลียร์ก่อนบานปลายมากไปกว่าเดิม

3. ชำระหนี้ให้ตรงเวลา

ชำระหนี้ให้ตรงเวลา เป็นการบริหารจัดการหนี้ที่ทุกคนควรทำเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพื่อให้เราไม่ต้องเผชิญหน้ากับดอกเบี้ยที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเป็นการรักษาเครดิตทางการเงิน ให้มีประวัติดีมากกว่าเสีย

4. พยายามจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ

พยายามจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ เพราะจะช่วยให้เราสามารถลดเงินต้นได้เร็วมากขึ้น ดอกเบี้ยลดน้อยลง และที่สำคัญช่วยให้หนี้ของเราหมดไวมากขึ้น หากใครพอมีรายได้เหลืออยากเคลียร์ภาระเร็ว ๆ แนะนำว่าวิธีการบริหารจัดการหนี้วิธีนี้เหมาะสมอย่างมาก
 

9 เทคนิคการบริหารจัดการหนี้ (2).png

5. จัดสรรเงินเก็บให้เป็นสัดเป็นส่วน

จัดสรรเงินเก็บให้เป็นสัดเป็นส่วน หลังจากที่เราทำตามวิธีการบริหารจัดการหนี้ จนเคลียร์ได้หมดจดแล้ว ให้หันมาเก็บออมเป็นสัดเป็นส่วน สร้างเงินเก็บให้มากกว่าการสร้างหนี้แทน

6. จัดการรายรับรายจ่ายทุกเดือน

จัดการรายรับรายจ่ายทุกเดือน เนื่องจากมันจะช่วยให้คุณได้เห็นสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง ว่ารายได้ในแต่ละเดือนที่เราได้รับมา มีค่าใช้จ่ายอะไรจับจองไปบ้าง แล้วเหลือเงินให้ใช้อีกเท่าไหร่ ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการหนี้ง่ายขึ้นหลายขุมทีเดียว

7. ควรปิดบัตรเครดิตใบที่ไม่ใช้แล้ว

ควรปิดบัตรเครดิตที่ไม่ใช้แล้ว เพราะในอนาคตหากเราไม่ใช้งาน อาจต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรอยู่ดี หรือเราอาจหักห้ามใจตนเองไม่ไหว จนสุดท้ายก็เปิดใช้งาน และกลายเป็นการสร้างที่เพิ่มไปในที่สุด

8. รู้จักประหยัดและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

รู้จักประหยัดและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น จากการลดความฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวันลงไป เช่น ซื้ออาหารระหว่างทางกลับบ้าน แทนการสั่งเดลิเวอรี่ หรือการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นให้น้อยลง เป็นต้น

9. ทบทวนการใช้เงินของตัวเอง

ทบทวนการใช้เงินของตัวเอง ว่าในแต่ละเดือนเรามีรายจ่ายไปกับอะไรบ้าง จากนั้นเลือกใช้วิธีการบริหารจัดการหนี้ข้ออื่นเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน เช่น จดรายรับรายจ่าย การลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย และเก็บเงินให้มากขึ้น เป็นต้น

สรุปบทความ

สรุปสุดท้ายนี้ประโยชน์ของวิธีการบริหารจัดการหนี้ คือ การต้องนำไปใช้อย่างจริงจัง ค่อย ๆ ปรับให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตจนสามารถทำได้ตามปกติ เพราะต่อให้มีวิธีการบริหารจัดการหนี้มากมาย แต่ไม่นำไปใช้งานจริงจัง ก็ไร้ประโยชน์อยู่ดี อย่างไรก็ตามหากคุณรู้สึกการเงินฝืดเคือง หมุนเงินไม่ทันใช้ สามารถยื่นสมัครสินเชื่ออนุมัติไวจาก Promise ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android พร้อมอนุมัติวงเงินสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท อนุมัติเร็วใน 1 ชั่วโมง

Tags: การบริหารหนี้ ภาระหนี้สิน

พร้อมรู้กับพรอมิส