สินเชื่อส่วนบุคคล VS สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ แบบไหนที่เหมาะกับใคร

02/11/2566
สินเชื่อน่ารู้

 

สินเชื่อส่วนบุคคล vs สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

 

สินเชื่อส่วนบุคคลกับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์มีความคล้ายกันมาก เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำประกันทั้งคู่ จึงทำให้หลายๆคน ที่กำลังมองหาเงินกู้ สงสัยได้ว่า เอ๊ะ มันต่างกันยังไงนะ แบบไหนดอกถูกกว่ากัน และแบบไหนที่เหมาะกับเราจริง ๆ วันนี้สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสจะมาอธิบายให้เข้าใจแบบง่าย ๆ

 

สินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร ?

 

สินเชื่อส่วนบุคคล คือการที่สถาบันทางการเงินทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคารให้กู้เงินกับคนที่ประกอบอาชีพพนักงานประจำหรืออาชีพอิสระ(แล้วแต่เงื่อนไขของผู้ให้บริการสินเชื่อ) โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำหรือคนค้ำประกัน

 

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์คืออะไร ?

 

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์นั้นจะมีส่วนที่เหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคล คือ ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำหรือคนค้ำประกัน แต่จะมีให้บริการทั้งคนที่มีรายได้ชัดเจนและไม่ชัดเจน เช่น พ่อค้าแม่ค้า ฟรีแลนซ์ ก็สามารถสมัครได้ เนื่องจาก สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ” แปลว่าเป็นสินเชื่อที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อช่วยแก้ปัญหาของผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินที่ถูกกฎหมายได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของรายได้ชัดเจน รวมถึงไม่มีทรัพย์สินค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้อาจต้องไปกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมากจนมีภาระหนี้เกินตัว และอาจถูกทวงหนี้ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมจนเป็นอันตรายได้

 

ดังนั้น สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จึงถูกกำหนดให้เป็นสินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาเพื่อนำเงินไปใช้ในการประกอบอาชีพ โดยไม่จำเป็นต้องมีการค้ำประกันจากบุคคลและทรัพย์สินเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคล แต่จะมีเงื่อนไขที่กว้างกว่าเพื่อรองรับผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำและแหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน เช่น พ่อค้าแม่ค้า นั่นเอง

 

เนื่องจากสินเชื่อทั้ง 2 มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก งั้นเรามาดูความเหมือนและความแตกต่างของสินเชื่อทั้ง 2 แบบเปรียบเทียบชัด ๆ กันดีกว่า

 

คุณสมบัติ/ประเภท

สินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

การประกอบอาชีพ

อาชีพที่มีแหล่งที่มาของรายได้ชัดเจน เช่น พนักงานประจำ ข้าราชการ อาชีพอิสระ (แล้วแต่เงื่อนไขของผู้ให้บริการสินเชื่อ)

อาชีพที่มีแหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน เช่น ค้าขาย

ประเภทสินเชื่อ

สินเชื่อในระบบ ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

สินเชื่อในระบบ ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

ดอกเบี้ยรายปี

สูงสุดไม่เกิน 25% 

สูงสุดไม่เกิน 33%

วงเงินอนุมัติสูงสุด

รายได้หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าบัญชีเงินฝากเฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 30,000 บาท         

วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าบัญชีเงินฝาก เฉลี่ยต่อเดือนต่อผู้ให้บริการ (สูงสุด ไม่เกิน 3 ผู้ให้บริการ)

 

รายได้หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าบัญชีเงินฝากเฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 30,000 บาท         

วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าบัญชีเงินฝาก

*โดยเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการสินเชื่อแต่ละแห่งซึ่งอาจแตกต่างกัน

ไม่เกิน 5 เท่า

สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

หลักประกัน

ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน

ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน

 

จากตารางจะเห็นว่าสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีดอกเบี้ยที่ถูกกว่า รวมถึงมักจะได้วงเงินที่สูงกว่าด้วย แต่ก็จะมีเงื่อนไขที่มากกว่าด้วยเช่นกัน หากเป็นพนักงานประจำแนะนำสินเชื่อส่วนบุคคลเลยจ้าา สนใจสมัครสินเชื่อ คลิก

 

ส่วนสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์นั้นจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้มีรายได้ประจำหรือแหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน แต่ก็จะมีวงเงินสูงสุดที่น้อยกว่า และดอกเบี้ยสูงกว่า

 

ซึ่งปัจจุบันสินเชื่อส่วนบุคคล มีผู้ให้บริการ 69 ราย 152 ผลิตภัณฑ์ (อัปเดต 25/08/23) ตัวอย่างสินเชื่อส่วนบุคคล เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสและสินเชื่อบุคคลของธนาคารต่าง ๆ ส่วนสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ มีผู้ให้บริการ 23 ราย 36 ผลิตภัณฑ์ (อัปเดต 25/08/23) ตัวอย่างสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เช่น Line BK, สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

ทั้งนี้ ก่อนกู้ยืมเงินควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ให้ครอบคลุมถี่ถ้วน เพราะหากกู้เงินไปแล้ว ใช้เงินไปแล้ว แล้วปรากฏว่ามีปัญหา เช่น รับภาระไม่ไหว หรือสิ่งที่ได้มาไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะเป็นการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็นและทำให้การกู้เงินนั้นนำความทุกข์มาให้ในภายหลังได้

 

เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสอยากให้ลูกค้าทุกท่านกู้เงินไปใช้อย่างมีความสุข จึงได้ทำเช็กลิสต์ง่าย ๆ 7 ข้อ ที่ต้องถามให้ชัวร์ก่อนตัดสินใจกู้เงิน จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

 

7 เช็กลิสต์ง่าย ๆ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน

 

7 เช็กลิสต์ง่าย ๆ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน

 

1. วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน

เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการใช้เงินชัดเจนเหมือนสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน เราจึงต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้เงินให้ชัดเจนด้วยตัวเอง เพื่อให้ไม่เป็นการสร้างหนี้เพื่อซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือเพื่อความสะดวกแบบชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากหนี้สินที่เกิดขึ้นอาจจะนำความลำบากมาในระยะยาวโดยไม่จำเป็นได้

 

2. สภาพคล่องทางการเงิน

เช็กสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองว่า รายได้ต่อเดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว คุณจะยังสามารถรับผิดชอบชำระค่างวดสินเชื่อที่กำลังจะกู้ได้หรือไม่ ถ้าได้ไหวที่เท่าไหร่ ที่จะไม่ทำให้ลำบากจนเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการกู้เงินที่เกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ของคุณอย่างเด็ดขาด

 

3. ตรวจสอบประวัติข้อมูลเครดิต

โดยปกติสถาบันการเงินจะต้องทำการตรวจสอบประวัติข้อมูลเครดิตของคุณเพื่อประเมินความเสี่ยงทางการเงิน การตรวจสอบประวัติข้อมูลเครดิตของคุณเองก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อจะทำให้ประเมินตัวเองได้ก่อนว่าน่าจะอนุมัติผ่านหรือไม่ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาสมัคร โดย คุณสามารถเช็กประวัติข้อมูลเครดิตได้เองผ่าน Mobile Application ของหลาย ๆ ธนาคาร ซึ่งจะมีบริการสามารถตรวจและรับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง (e-Credit Report) ผ่านทางอีเมลได้ทันที

 

4. อัตราดอกเบี้ย

เมื่อตัดสินใจที่จะขอสินเชื่อแล้ว สิ่งที่สำคัญในลำดับต่อไป ซึ่งเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ อัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่คุณจะต้องชำระคืนเมื่อมีการกู้ยืม ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่คุณต้องจ่ายเพื่อนำเงินในอนาคตออกมาใช้ และควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจากหลาย ๆ แห่ง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้ต้นทุนที่คุณต้องจ่ายในอนาคตที่เกิดจากการกู้เงินนี้ในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

 

5. เงื่อนไขการชำระเงิน

ตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงิน เช่น ระยะเวลาผ่อนชำระ วิธีการชำระเงิน และความยืดหยุ่นในการชำระเงิน ซึ่งโดยปกติจะมีตัวเลือกให้เราเลือกหลายแบบ แนะนำให้เลือกเงื่อนไขที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้และความเข้ากันกับการใช้ชีวิตของคุณ และระวังว่าการชำระเงินบางวิธีหรือบางช่องทางอาจมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มทุกครั้ง

 

6. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

เนื่องจากในหลาย ๆ สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จะมีค่าธรรมเนียมการกู้ยืมเงิน ค่าอากรแสตมป์ หรือค่าใช้จ่ายในการเบิกถอนเงิน และบางสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์อาจมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมซึ่งก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง

 

7. เงื่อนไขในกรณีอื่นๆ

นอกจากที่กล่าวมาด้านบนอาจจะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อาจมีผลดีผลเสียในอนาคต เช่น กรณีลืมจ่ายเงินกู้ตามวันที่กำหนดสามารถจ่ายชำระตามหลังได้ภายในกี่วันโดยไม่โดนเก็บค่าธรรมเนียมหรือเบี้ยปรับ วิธีการคิดเบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ และในก รณีที่ต้องการปิดสินเชื่อก่อนครบกำหนดจะมีค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับหรือไม่ หรือหากต้องการยกเลิกวงเงินสินเชื่อจะมีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้างรึเปล่า เป็นสิ่งที่ควรเช็กให้ละเอียด เพื่อที่จะได้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดจากการกู้สินเชื่อได้

 

รู้อย่างงี้แล้ว อย่าลืมทำเช็กลิสต์เหล่านี้ก่อนกู้สินเชื่อและเลือกผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้เหมาะกับด้วยตัวเองนะ จะได้ให้การกู้นี้เป็นการกู้ที่คุ้มค่ามากที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย

Tags: สินเชื่อส่วนบุคคล นาโนไฟแนนซ์ คุณสมบัติผู้สมัคร อัตราดอกเบี้ย

พร้อมรู้กับพรอมิส