เมื่อรู้ตัวว่ากำลังจะกลายเป็นคนตกงาน วางแผนการเงินยังไงดี

15/01/2567
การเงิน-ธุรกิจ

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล

จากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงในปัจจุบัน ทำให้หลาย ๆ บริษัทต่างออกนโยบายลดต้นทุนของตัวเองลง เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและดำเนินต่อไปได้ ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่พนักงานอย่างเรา ๆ ไม่อยากได้ยินเลยก็คือ นโยบายเลิกจ้าง ที่อาจทำให้เรากลายเป็นคนตกงานได้โดยไม่ทันตั้งตัว แน่นอนว่าแม้เราจะวางแผนการเงินมาเป็นอย่างดี แต่ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ ก็ต้องรีบวางแผนการเงินให้ดีว่า ในช่วงที่ว่างงานหรือกำลังหางานใหม่จะต้องจัดการเงินยังไง ถึงจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้โดยไม่เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินขึ้นเสียก่อน
ดังนั้น นอกจากในบทความนี้ PROMISE จะพาคุณมาเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อต้องกลายเป็นคนตกงานแล้ว เรายังจะมาตั้งคำถามเกี่ยวกับการขอสินเชื่อเมื่ออยู่ในสถานะว่างงานด้วยว่าสามารถทำได้ไหม ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ไปดูกันเลย

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล

วิธีรับมือการเงินสำหรับคนตกงาน

มาเริ่มกันที่การแนะนำวิธีรับมือด้านการเงินเมื่อเราต้องกลายเป็นคนตกงาน เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการเงินและผ่านวิกฤตในช่วงนี้ไปได้อย่างราบรื่นจนกว่าจะได้งานใหม่ จะมีวิธีใดที่คุณยังไม่เคยรู้มาก่อนบ้าง ไปดูกัน

1.ขึ้นทะเบียนคนว่างงานทันทีเมื่อพ้นสภาพการเป็นพนักงาน

สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำเมื่อพ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือกลายเป็นคนตกงานก็คือ การขึ้นทะเบียนคนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น

2.เช็กสิทธิ์เรื่องเงินชดเชยที่ควรจะได้รับ

ในกรณีที่เรากลายเป็นคนตกงาน หรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด เรามีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง ดังนี้

  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

3.รายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

การรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในระบบแรงงานและจ่ายเงินประกันสังคมมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน โดยคุณจะต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนว่างงานและรายตัวว่างงานด้วยตัวเอง เพื่อรับเงินชดเชยต่อเดือนตามฐานเงินเดือนและเงินสมทบที่จ่าย สำหรับขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน มีดังนี้

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานกับเว็บไซต์กรมการจัดหางาน

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน ( https://e-service.doe.go.th/login.do ) เพื่อทำการขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน
  • สำหรับผู้ที่มีบัญชีอยู่แล้ว ให้กรอกอีเมล และพาสเวิร์ดเพื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ให้กดลงทะเบียน
  • กดยินยอมให้ข้อมูล ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน และอีเมล
  • คลิกเข้าสู่ ระบบบริการประชาชน (e-Service) แล้วคลิก ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จากนั้นเลือกช่องทางในการเข้าใช้งาน และคลิก ดำเนินการต่อ หรือ เลือกสำนักงานที่ใช้บริการ
  • กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก รายงานตัว และตรวจสอบสถานะรับผลประโยชน์ทดแทน

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล

4.สำรวจเงินเก็บฉุกเฉิน

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนทั้ง 3 ข้อข้างต้นไปแล้ว ลำดับต่อไปก็ได้เวลามาสำรวจตัวเองให้ดี โดยให้รีบเช็กเงินในบัญชีของเราว่า เงินเก็บฉุกเฉินของเรามีอยู่เท่าไหร่ เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าหรือไม่ หากคาดการณ์แล้วว่าไม่น่าจะเพียงพอ จะได้รีบจัดการวางแผนการเงินในทันที ทั้งนี้ หากคุณยังมีเงินเก็บที่เพียงพอต่อการใช้จ่าย แต่เก็บไว้ในสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเบิกถอนออกมาใช้จ่ายได้ในทันที แนะนำว่าให้รีบโยกย้ายมาไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงกว่า เพื่อความสะดวกในการนำเงินมาใช้จ่าย

5.เช็กลิสต์หนี้สินที่ค้างไว้

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรีบตรวจเช็กไม่แพ้กันก็คือ หนี้สินที่เรามีอยู่ โดยแนะนำให้ทำเป็นเช็กลิสต์ออกมาอย่างละเอียดว่า เป็นหนี้อะไร กับธนาคารไหน กำหนดจ่ายเมื่อไหร่ จำนวนเงินและดอกเบี้ยอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมด้านการเงินของคุณได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถจัดการหนี้ได้อย่างเป็นระเบียบอีกด้วย

6.จัดสรรค่าใช้จ่ายให้พอเหมาะ

แน่นอนว่า เราไม่สามารถกำหนดหรือรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า จะได้งานใหม่ในช่วงไหน บางคนโชคดีหน่อยก็อาจจะหางานใหม่ได้ใน 1-2 เดือน แต่บางคนอาจจะต้องรอนานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้นก็ได้ ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรจัดสรรค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้พอเหมาะ ลด ละ เลิกรายจ่ายที่ไม่จำเป็นไปก่อน และหากมีหนี้ที่ต้องจ่ายก็ควรจะชำระให้ตรงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติเครดิตเสียที่ส่งผลกระทบกับการขอสินเชื่อในอนาคต

คนตกงาน ขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้ไหม

ถ้าสงสัยว่า คนตกงานขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้ไหม โดยปกติแล้วในการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีสลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้บริษัทสินเชื่อหรือสถาบันการเงินสามารถพิจารณาได้ว่าจะมีรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้คืนในแต่ละงวด ดังนั้นหากตกงานอยู่และไม่สามารถแสดงเอกสารเหล่านี้ได้ โดยทั่วไปบริษัทสินเชื่อหรือสถาบันการเงินก็จะไม่สามารถพิจารณาสินเชื่อได้

สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล

สรุปบทความ

จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ คงจะไม่มีใครที่อยากตกอยู่ในสถานะ คนตกงาน อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่งคุณดันโชคร้ายและต้องตกอยู่ในสถานะนี้ขึ้นมา แนะนำว่าให้รีบตั้งสติและทำตามวิธีที่เรารวบรวมมาให้ข้างต้น นอกจากนี้ก็อย่าลืมบริหารเงินเก็บที่มีอยู่ รวมถึงเงินชดเชยที่ได้มาให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่องที่มาซ้ำเติมคุณ

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

Tags: สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ

พร้อมรู้กับพรอมิส