สัญญาณเตือนธุรกิจเริ่มขาดสภาพคล่อง

28/12/2566
การเงิน-ธุรกิจ

 

เงินทุนหมุนเวียน

 

 

ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เหล่าธุรกิจ SMEs ต่างต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์ที่ท้าทายมากมาย ทั้งปัญหาเงินเฟ้อ สภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร และสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเริ่มขาดสภาพคล่อง เงินทุนเริ่มลดน้อยลง จนทำให้ต้องปิดกิจการ แต่ถ้าหากเรารู้สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าธุรกิจกำลังขาดสภาพคล่อง ก็จะช่วยให้คุณสามารถจัดการได้ทันเวลา


 

เงินทุนหมุนเวียน

 

5 สัญญาณเตือน ธุรกิจกำลังขาดสภาพคล่อง


สำหรับ 5 สัญญาณเตือนว่าธุรกิจกำลังขาดสภาพคล่องที่เรารวบรวมมา จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถสังเกตความผิดปกติ และสามารถหาทางรับมือได้ก่อนที่จะสายเกินไป จะมีสัญญาณใดที่ธุรกิจของคุณกำลังเผชิญอยู่บ้าง ไปดูกัน

 

1. สินค้าคงเหลือในสต๊อก


การที่เรามีสินค้าคงเหลือในสต๊อกค่อนข้างมาก จะทำให้เงินของเราจมอยู่กับสต๊อกสินค้านั้น ซึ่งถ้าหากเป็นสินค้าที่สามารถเก็บได้นานก็อาจจะไม่ได้กระทบกับเรามากนัก แต่หากเป็นสินค้าที่ไม่สามารถเก็บได้นาน และอาจจะหมดอายุ และสร้างความเสียหายให้ธุรกิจของเรา เพราะไม่สามารถแปลงสินค้าเหล่านั้นเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจต่อ และขาดสภาพคล่องทางการเงินได้

 

2. กำไรลดลง


เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากข้อที่ 1 เพราะเมื่อเรามีสินค้าคงเหลือในสต๊อกเยอะ นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถสร้างยอดขายกลับมาให้ธุรกิจได้ นอกจากนี้เมื่อกำไรลดลงยังเป็นสัญญาณถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา เช่น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าวัตถุดิบแพง ค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง เป็นต้น ซึ่งคุณจะต้องมานั่งดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ว่ามีส่วนใดที่ผิดพลาด หรือมีค่าใช้จ่ายแฝงใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ หรือรีบแก้ปัญหาในทันที

 

3. เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าต้นทุนคงที่


ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการต้องจ่ายเป็นประจำ โดยไม่ขึ้นอยู่กับยอดขาย หรือปริมาณการผลิต และสามารถประเมินล่วงหน้าได้ ซึ่งธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนครอบคลุมต้นทุนคงที่เหล่านี้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่น และมีเงินเพียงพอเมื่อถึงเวลาต้องจ่ายหนี้
 

 

เงินทุนหมุนเวียน

 

4. ระบบบัญชีหละหลวม


หากคุณมีระบบบัญชีที่ไม่รัดกุมและไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกงได้ง่าย นอกจากนี้การที่ข้อมูลในบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็อาจจะทำให้คุณคาดการณ์สถานการณ์ และตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพการเงินในระยะยาวได้ ทางที่ดีควรเลือกใช้ระบบบัญชีที่ได้มาตรฐานจะดีกว่า

 

5. คู่ค้าจ่ายเงินไม่ตามกำหนด


การที่คู่ค้าของเราจ่ายเงินไม่ตรงตามกำหนด จะส่งผลกระทบต่อเงินหมุนเวียนในธุรกิจของเราได้ ทำให้ต้องหาเงินทุนมาเพิ่ม เพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอในการทำธุรกิจ ดังนั้นหากคู่ค้าเริ่มมีการขอเลื่อนชำระหนี้ ก็ควรจะรีบวางแผนเตรียมความพร้อมเรื่องเงินทุนหมุนเวียนให้ดี


วิธีการรับมือเมื่อขาดสภาพคล่อง
สำหรับวิธีการรับมือเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ อันดับแรกก็คือ การบริหารจัดการต้นทุนให้ดี รวมถึงการจัดสต๊อกสินค้า เพื่อให้เรามีเงินสดไปใช้ในการบริหารจัดการในด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ก็อย่าลืมเจรจากับคู่ค้าของเรา เพื่อกำหนดนโยบายการจ่ายเงินและการรับเงินให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารและประมาณการเงินทุนหมุนเวียนของเราได้ดียิ่งขึ้น อันดับสุดท้ายเลยก็คือ การจัดทำแผนประมาณการกระแสเงินสด ทั้งเงินเข้า เงินออก และรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงจัดวงเงินสำหรับเงินทุนหมุนเวียน เพื่อรองรับความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ


 

เงินทุนหมุนเวียน

 

สรุปบทความ


หากคุณรู้สึกว่าธุรกิจของตัวเองมีปัญหา เราแนะนำว่าให้ลองไปตรวจเช็กสภาพคล่องของธุรกิจ ตามสัญญาณเตือนเหล่านี้ให้ครบ หากธุรกิจของคุณขาดสภาพคล่องให้รีบหาแนวทางแก้ไขในทันที หรือหากคุณต้องการตัวช่วยคืนสภาพคล่องทางการเงินกลับมาให้ธุรกิจ การขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจก็นับว่าเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะคุณจะได้รับเงินก้อนมาหมุนเวียนใช้จ่าย เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ธุรกิจที่ต้องมีเงินหมุนเวียนใช้จ่าย แต่ชีวิตประจำวันของเราก็จำเป็นจะต้องมีเงินหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากคุณเป็นพนักงานบริษัท ไม่ได้ทำธุรกิจ และมีปัญหาสภาพคล่องด้านค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็สามารถเข้ามาขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับ Promise เพื่อรับเงินก้อนไปใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องได้เลย ทั้งนี้ เงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เป็นไปตามที่สถาบันการเงินกำหนด

 

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
 

 

 

 

 

 

 

 

Tags: ธุรกิจ SMEs

พร้อมรู้กับพรอมิส