นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ

Submitted by root on Wed, 09/16/2020 - 11:37
นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ

นโยบายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และการฟอกเงิน

เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จํากัด (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “บริษัทฯ”) ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ทางบริษัทฯ จึงได้มีการกำหนดนโยบายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และการฟอกเงิน (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “นโยบายนี้”) ขึ้น

  1. 1. การควบคุมดูแลสินค้า
    1.1. สินค้าและบริการของบริษัทฯ ในปัจจุบัน
    ในการควบคุมดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการฟอกเงินในส่วนของสินค้าและบริการ หรือการใช้บริการ หรือที่มาของธุรกรรมในปัจจุบันของทางบริษัทฯ บริษัทฯ จะพิจารณาความเสี่ยงในสินค้าและบริการแต่ละประเภท หรือการใช้บริการ หรือที่มาของธุรกรรมไปพร้อมกับความเสี่ยงอื่นๆ ของลูกค้าโดยรวมด้วย
    1.2. สินค้าและบริการใหม่ของบริษัทฯ
    ในกรณีที่บริษัทฯ มีการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ หรือมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังต่อไปนี้เข้ามาใช้ บริษัทฯ จะดำเนินมาตราการเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการฟอกเงิน
    (1) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือต่างๆ ที่บริษัทฯ นำมาใช้ในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับเส้นทางในการให้บริการด้านการเงินหรือการนำเสนอสินค้า การพบปะ ติดต่อ เข้าหา การสร้างสัมพันธ์ทางธุรกรรมกับกลุ่มลูกค้า การทำธุรกรรม หรือการสานต่อความสัมพันธ์ทางธุรกรรมมาใช้ หรือมีข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย
    (2) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือต่างๆ ที่บริษัทฯ ใช้เป็นเส้นทางในการให้บริการ
    (3) สินค้าด้านการเงินที่ได้มีการพัฒนาขึ้นใหม่ และจะนำมาใช้หรือนำมาจำหน่ายในอนาคต ซึ่งได้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับเส้นทางในการให้บริการด้านการเงินหรือการนำเสนอสินค้า การพบปะ ติดต่อ เข้าหา การสร้างสัมพันธ์ทางธุรกรรมกับกลุ่มลูกค้า การทำธุรกรรม หรือการสานต่อความสัมพันธ์ทางธุรกรรมมาใช้ หรือมีข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย
    ในกรณีที่การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครื่องมือมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ (1) การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการฟอกเงิน (2) การละเมิดกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือ (3) มีความเสี่ยงทั้งข้อ (1) และ (2) พนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะสามารถรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้ จากมาตรการลดความเสี่ยงและวิธีการประเมินสถานะในการดำเนินการตามมาตรการ ในกรณีที่ไม่สามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ พนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะระงับการใช้งานหรือระงับการอนุญาตให้ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครื่องมือนั้น
  2. 2. การกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมินและบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรด้าน
    การฟอกเงินและการก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    บริษัทจะดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด ดังนี้

    2.1. จัดทำนโยบายและและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมินและบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสำคัญเป็นไปตามประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง แนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กรของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ดังนี้
    (1) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กร
    (2) นำปัจจัยความเสี่ยงตามที่กฎหมายกำหนดมาประเมินความเสี่ยง
    • ความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมดขององค์กร
    • ความเสี่ยงเกี่ยวกับพื้นที่หรือประเทศ โดยให้พิจารณาสถานที่ตั้ง สาขา พื้นที่ให้บริการหรือแหล่งที่มาของรายได้ขององค์กร ซึ่งอยู่ในพื้นที่หรือประเทศตามที่สำนักงาน ปปง. ประกาศกำหนด
    • ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้พิจารณาจากลักษณะ ดังต่อไปนี้
      (ก) ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถให้ รับ หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินสดที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นสามารถรองรับได้
      (ข) ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือให้แก่บุคคลอื่นได้ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามมูลค่า ความถี่ ความรวดเร็ว หรือความสะดวก ในการโอนหรือเปลี่ยนมือ
      (ค) ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถใช้หรือนำไปใช้ได้ในต่างประเทศ ซึ่งความเสี่ยง
      จะเพิ่มขึ้นหากผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นสามารถใช้ข้ามประเทศได้
    • ความเสี่ยงเกี่ยวกับช่องทางในการให้บริการ โดยให้คำนึงถึงการให้บริการแบบไม่พบหน้าลูกค้า (Non-face-to-face) และแบบพบหน้าลูกค้า (face-to-face)
    (3) นำผลการประเมินความเสี่ยงตามรายงานการประเมินความเสี่ยงระดับชาติมาพิจารณาประกอบ
    2.2. นโยบายและและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมินและบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรจะต้องผ่านความเห็นชอบและได้รับอนุมัติ จากผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการ
    2.3. จัดทำรายงานการประเมินและบริหารความเสี่ยงภายในองค์กร โดยมีมาตรการบรรเทาความเสี่ยงให้สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยง
    2.4. ปรับปรุงผลการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรให้เป็นปัจจุบัน โดยกำหนดรอบระยะเวลาในการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. 3. การจัดให้ลูกค้าแสดงตน การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการปฏิเสธการรับลูกค้า
    3.1. การจัดให้ลูกค้าแสดงตน
    ทางบริษัทฯ จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่เกี่ยวกับการแสดงตัวตนของลูกค้าตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ข้อบังคับและประกาศ โดยจะจัดให้ลูกค้าแสดงตนด้วยการให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลของลูกค้า
    3.2. การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
    ทางบริษัทฯ จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ข้อบังคับ และประกาศ
    3.2.1 ในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า บริษัทฯ จะปฏิบัติดังต่อไปนี้
    • ระบุตัวตนของลูกค้า และตรวจสอบตัวตนของลูกค้า โดยใช้เอกสาร ข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้าหรือจากแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือ
    • นำข้อมูลของลูกค้าไปตรวจเทียบกับ “รายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด” ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ปปง.”) ได้ประกาศไว้
    • ตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง หรือเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองหรือไม่
    • ตราบใดที่ยังมีการทำธุรกรรมกับลูกค้า ทางบริษัทฯ จะทำการตรวจสอบความเคลื่อนไหวในการทำธุรกรรมของลูกค้าว่ายังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ ระดับความเสี่ยงของลูกค้าที่ได้ประเมินไว้และข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายได้ และจะจัดทำข้อมูลอื่นๆของลูกค้าเพื่อให้เป็นข้อมูลล่าสุดอยู่ตลอดเวลา
    • ในการตรวจสอบระดับความเสี่ยงของลูกค้า จะตรวจสอบในส่วนขององค์ประกอบที่เกี่ยวกับประเทศหรือเขตพื้นที่ไปพร้อมกับองค์ประกอบอื่นๆ
    3.2.2. สำหรับลูกค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูง จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในระดับเข้มข้น
    3.2.3. ในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า จะดำเนินการบริหารความเสี่ยง โดยการพิจารณาตามผลการตรวจสอบ และอ้างอิงตามรายงานการตรวจสอบความเสี่ยง
    3.3. การปฏิเสธลูกค้า
    ในกรณีตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทฯ จะปฏิเสธการทำธุรกรรมกับลูกค้า
    • กรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามประกาศของ ปปง.
    • กรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบเอกสารแสดงตนของลูกค้าได้ หรือกรณีที่ข้อมูลที่ได้รับมาไม่เพียงพอ
    • กรณีที่ลูกค้าใช้นามแฝงหรือชื่อปลอม กรณีที่ให้ข้อมูลเท็จ กรณีที่แสดงเอกสารปลอม หรือกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับเอกสารการแสดงตัวตน
    • กรณีที่ระดับความเสี่ยงของลูกค้าสูงถึงขนาดที่อาจจะมีโอกาสที่บริษัทฯ จะถูกนำใช้ไปในการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือการฟอกเงินได้
  4. 4. การทำธุรกรรมของลูกค้า
    4.1. การตรวจสอบเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้า
    แม้ข้อมูลของลูกค้าจะไม่ตรงกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามประกาศของ ปปง. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการตรวจสอบข้อมูลโดยนำเงื่อนไขและวิธีการที่เกี่ยวกับการแสดงตัวตนของลูกค้าตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ข้อบังคับ และประกาศมาใช้อ้างอิง เพื่อตรวจสอบว่าลูกค้ามีส่วนเกี่ยวข้องหรืออาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือไม่
    4.2. การรายงานไปยัง ปปง.
    ในกรณีตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทฯ จะถือว่าเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย และจะรายงานไปยัง ปปง.
    • กรณีมีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้เชื่อได้ว่า การทำธุรกรรมกับลูกค้านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องหรืออาจจะเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
    • กรณีที่ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามประกาศของ ปปง.
    • กรณีมีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้เชื่อได้ว่า การทำธุรกรรมกับลูกค้านั้นเป็นการหรืออาจจะเป็นการทำธุรกรรมเพื่อผู้ที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามประกาศของ ปปง.
  5. 5. การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และการฟอกเงิน

    บริษัทฯ จะปฏิบัติตาม “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” และคำสั่ง ข้อบังคับ คำประกาศ และสิ่งอื่นๆ ตามที่ ปปง. กำหนด และจะพยายามป้องกันมิให้บริษัทฯ ถูกนำไปใช้เป็นช่องทางในการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการฟอกเงิน

    ในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการฟอกเงิน ทางบริษัทฯ ได้จัดตั้งระเบียบขึ้นตามนโยบายนี้ และจะดำเนินการดังต่อไปนี้

    5.1. รับและตรวจสอบลูกค้า โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    5.2. ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าหรือลูกค้าเก่าที่มีชื่อตรงกับ “รายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด” และรายงานไปยังปปง.
    5.3. ตัดการสร้างสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการฟอกเงิน และระงับการดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมและทรัพย์สิน
    5.4. รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสดและธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยไปยัง ปปง.
  6. 6. การดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนี้
    กรรมการ พนักงาน และตัวแทนของบริษัทฯ ทั้งหมดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและนโยบายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และการฟอกเงิน เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้กล่าวข้างต้น โดยบริษัทฯ จะดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน”
    6.1. ทบทวนระเบียบและนโยบายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบริษัท
    6.2. จัดทำระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามกฎหมาย
    6.3. จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีประธานเป็นผู้รับผิดชอบการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
    6.4. ตรวจสอบ “รายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด” เวลาว่าจ้างพนักงาน
    6.5. จัดอบรมเกี่ยวกับระเบียบและนโยบายฉบับนี้ให้กับกรรมการ พนักงาน และผู้แทนบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    6.6. จัดตั้งแผนกตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ และตรวจสอบการปฏิบัติงาน
บริษัทฯ ถือว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท